อาชีพการทำการเกษตร ส่งเสริมให้เรามีรายได้ แนะนำวันนี้อาชีพปลูกไผ่หวานจำหน่าย เป็นการทำเกษตรที่ได้ผลดีให้กำไรงาม เป็นพืชปลูกง่ายทนต่อสภาวะแห้งแล้ง ผลผลิตนำมาทำอาหารได้หลากหลายมาก เช่น แกงหน่อไม้ ห่อหมกหน่อไม้ หน่อไม้ดอง เป็นต้น
ในคราวนี้เราจะขอกล่าวถึงอาชีพเกษตรกรทำเงินอีกอาชีพหนึ่งซึ่งนั่นก็คือการปลูก ไผ่เลี้ยงหวาน เพื่อการพาณิชย์ และที่บอกว่าอาชีพการปลูกไผ่เลี้ยงหวานเป็นอาชีพที่ทำเงินนั้น นั่นก็เป็นเพราะว่า ไผ่เลี้ยงหวานสามารถให้หน่อในช่วงฤดูแล้งได้ ซึ่งแตกต่างจากต้นไผ่ในธรรมชาติทั่วๆ ไป ที่ในช่วงฤดูแล้งมักจะไม่ค่อยให้ผลผลิตนั่นเอง
ไผ่เลี้ยงหวานสามารถให้หน่อในฤดูที่หน่อไม้ตามธรรมชาติหายาก ดังนั้นมันจึงเป็นพืชอีกอย่างที่ดูมีอนาคตเอามากๆ เลยทีเดียว
นอกจากนี้ ไผ่เลี้ยงหวาน ยังมีข้อดีที่แตกต่างไปจากต้นไผ่ตามธรรมชาติทั่วไป อาทิเช่น ไม่มีขนให้ระคายผิวเหมือนกับไผ่ชนิดอื่นๆ ดูแลรักษาง่าย ออกหน่อง่าย การปลูกก็ไม่ยุ่งยาก ทั้งยังเป็นไม้ไผ่ที่ไม่มีหนาม ส่วนโรคและแมลงศัตรูก็มีน้อยมาก ที่สำคัญในปัจจุบันมีผู้บริโภคต้องการมันมากขึ้น ซึ่งก็เนื่องมาจากไผ่เลี้ยงหวานมีรสชาติ หวาน กรอบ อร่อย ทั้งยังหารับประทานได้ตลอดทั้งปี และในการทำอาหารต้มน้ำครั้งเดียวก็ใช้ได้แล้ว ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมานี้ดูเหมือนมันจะลบข้อด้อยของต้นไผ่ตามธรรมชาติได้อย่างสิ้นเชิงเลยทีเดียว
ไผ่เลี้ยงหวานมีลักษณะคล้าย ไผ่ลวก ลำต้นตรง ไม่มีหนาม
วิธีการปลูกไผ่เลี้ยงหวาน
การปลูก ไผ่เลี้ยงหวาน ควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน ใช้ระยะปลูก 4 x 4 เมตร จะได้ 100 กอต่อไร่ ขุดหลุม ขนาด กว้าง ยาว ลึก 30x30x30 เซนติเมตร ก่อนปลูกรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 3 กก.ต่อหลุม การปลูกใช้ส่วนของลำต้น โดยการแยกหน่อ/กอที่มีอายุ 1 – 1.5 ปี ตัดโดยวัดความยาวจากโคน ขึ้นมาประมาณ 50 เซนติเมตร หลังปลูก 8 เดือน จะเริ่มให้หน่อ และเมื่อไผ่เลี้ยงหวานอายุ 2 – 3 ปี จะได้ผลผลิตเต็มที่ การเก็บเกี่ยว เมื่อหน่อไม้ยาวประมาณ 1 ฟุตครึ่ง ก็ตัดได้ ควรตัดหน่อไผ่ในตอนเช้า จะได้หน่อไม้ที่ไม่ขม ไม่ขื่น รสชาติดี ถูกใจผู้บริโภค
ไผ่เลี้ยงหวานสามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ และยังใช้ประโยชน์ได้ทั้งหน่ออ่อนและลำไม้ไผ่อีกด้วย
ทางด้านการดูแลถ้าสังเกตพบว่าแปลงแห้งต้องระบายน้ำเข้า แต่ในช่วงเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงที่ฝนตกชุกอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องระบายน้ำเข้าแปลงตลอด อีกทั้งต้องใช้แกลบดำหรือแกลบดิบก็ได้ ถมโคนต้นไผ่ ต้นละประมาณครึ่งกระสอบ เพื่อเป็นการรักษาความชื้น ช่วยให้หน่อโตเร็ว ลำต้นแข็งแรง และให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ต้นละ 1 กำมือ หว่านรอบๆ ต้น ช่วงนี้ดินจะมีความชื้นสูงปุ๋ยจะละลายได้ดีและต้นไผ่เลี้ยงสามารถดูดซึมเอาปุ๋ยไปใช้ได้ง่าย ทั้งยังต้องใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ต้นละ 1 กำมือ ทุกๆ 15 วัน จนกระทั่งเก็บผลผลิต สังเกตถ้าพบว่าแปลงแห้งต้องระบายน้ำเข้าให้ชุ่ม แล้วดูแลใส่ปุ๋ยทุกๆ 15 วัน (46-0-0) จนกระทั่งครบ 8 เดือน ซึ่งช่วงนี้สามารถเก็บหน่อไม้ได้ ถ้าไผ่เลี้ยงกอไหนที่มีต้น 4 ลำขึ้นไปก็สามารถเก็บหน่อไผ่ได้ แต่ถ้ากอไหนที่มีต้นน้อยเกินกว่า 4 ลำ ก็อย่าเพิ่งตัดหน่อให้เลี้ยงไว้เพื่อรักษากอไผ่ อีกทั้งต้องหมั่นตัดแต่งกิ่งไผ่เลี้ยงทุกๆ 1 เดือน กิ่งที่ต้องตัดทิ้งคือกิ่งแขนง เพื่อป้องกันไม่ให้กอไผ่รกจนเกินไป และให้ง่ายแก่การเก็บหน่อไผ่ในอนาคต เมื่อดูแลจนกระทั่งครบ 8 เดือนของอีกปี ช่วงหน่อไผ่ลำใหม่จะแทงออกมาเรื่อยๆ ให้ตัดลำของ 8 ปีแรกทิ้ง การตัดจะตัดให้ชิดพื้นดิน และให้เหลือไว้ไม่เกิน 12 ลำต่อ 1 กอ ดูแลให้น้ำ ให้ปุ๋ยสูตร46-0-0 ทุกๆ 15 วัน หว่านบางๆให้ทั่วกอ
ผลผลิตหน่อไม้จากไผ่เลี้ยงหวานสามารถนำไปประกอบอาหารได้เหมือนหน่อไม้ทั่วๆ ไป
และเนื่องจากการปลูกไผ่เลี้ยงหวาน ไม่ได้ยุ่งยากอะไรนัก แถมโรคและแมลงศัตรูก็ไม่ค่อยมี อีกทั้งยังดูแลรักษาง่าย นอกจากนั้นยังสามารถปลูกผักสวนครัวแซมระหว่างกอไผ่เพื่อเป็นการเสริมรายได้ได้อีกด้วย จึงทำให้ไผ่เลี้ยงหวานกลายเป็นพืชที่สามารถทำเงินให้เกษตรกรจนเป็นที่พอใจเป็นอย่างมาก ยิ่งในช่วงฤดูแล้งที่หน่อไม้ขาดตลาดหน่อไม้จากไผ่เลี้ยงหวานจะมีราคาสูงและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเป็นอย่างมากอีกด้วย
ลำต้นของไผ่เลี้ยงหวานสามารถนำไปขายเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้เช่นกัน
หน่อไม้จากไผ่เลี้ยงหวานมีรสชาติอร่อย แถมยังมีความกรอบ จึงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเป็นอย่างยิ่ง
แสดงความคิดเห็น